ปวดข้อศอกไม่หาย คนชอบออกกำลังกาย ใช้ชีวิตซ้ำ ๆ ระวังป่วยเข่าเสื่อม วิธีป้องกันในอนาคต

ปวดข้อศอกไม่หาย คนชอบออกกำลังกาย ใช้ชีวิตซ้ำ ๆ ระวังป่วยเข่าเสื่อม วิธีป้องกันในอนาคต

สารบัญเนื้อหา

ปวดข้อศอกบ่อย เกิดจากอะไร

ข้อศอก ของมนุษย์เป็นข้อต่อที่ซับซ้อน เปรียบเสมือนบานพับระหว่างต้นแขนและปลายแขน ข้อศอกประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกต้นแขน (humerus) กระดูกอัลนา (Ulna) และกระดูกเรเดียส (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของปลายแขน (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน

อาการปวดข้อศอกที่พบ

  • กิจกรรมซ้ำๆ
  • อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
  • การบาดเจ็บมากเกินไป
  • ข้ออักเสบ
  • ความเสื่อมของข้อต่อ

วิธีป้องกันอาการปวดข้อศอก

คุณรู้หรือไม่ว่า อาการปวดตามกระดูก ตามข้อ ปวดข้อศอก เจ็บเข่าด้านใน นอกจากเพราะอายุที่เพิ่มขึ้นจนนำไปสู่การเสื่อมสภาพแล้ว การบริโภคสารอาหารไม่เพียงพอจนขาดแคลเซียม ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้กระดูกเปราะบาง อ่อนแอได้ เพราะฉะนั้นกระดูกที่แข็งแรง จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการมีสุขภาพที่ดี ดังนั้น ต้องแน่ใจว่าคุณได้รับแคลเซียมเพียงพอต่อความต้องการใน 1 วัน

ปริมาณแคลเซียมที่กรมอนามัยแนะนำต่อวัน คือ แคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี และ 1,000 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป การทานแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการจึงเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันคุณจาก โรคเข่าเสื่อม ในอนาคตได้ดีที่สุด

แคลเซียมจากงาดำดีอย่างไร ?

งาดำ คือ ธัญพืชธรรมชาติที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย เพราะเมล็ดงาดำ อุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และทองแดง สารอาหารเหล่านี้ มีความจำเป็นต่อการป้องกันอาการปวดข้อศอกอย่างมาก เพราะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก สร้างมวลกระดูกให้หนาขึ้น ลดการเสื่อมสภาพ และยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่อาจเกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูก ที่เกิดจากการเสียดสี แคลเซียมจากงาดำ ยังช่วยลดอาการปวดข้อศอกได้อีกด้วย และมี เซซามิน ที่สามารถพบได้ใน น้ำมันงาสกัดเข้มข้น เรียกอีกอย่างว่า เซซาโมลิน ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยป้องกันอาการปวดข้อศอก