ระวัง ! อาการปวดตามข้อ สัญญาณบอกโรคที่ไม่ควรละเลย

ระวัง ! อาการปวดตามข้อ สัญญาณบอกโรคที่ไม่ควรละเลย

ปวดตามข้อ 

ปวดตามข้อ เป็นอาการที่สามารถนำไปสู่หลายโรคได้ เช่น โรคเข่าเสื่อม รูมาตอยด์ โรคเกาต์ และโรคเอส แอล อี ลักษณะของอาการก็คล้าย ๆ กัน คือปวดบริเวณผิวข้อ เจ็บเข่าด้านใน ปวดตามข้อนิ้ว ข้อมือ ข้ออักเสบ โรคที่เกี่ยวกับการปวดข้อเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น อายุ พันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ข้อ การออกกำลังกายที่เน้นท่าบริหารตรงเข่ามากเกินไป อาการปวดเข่า ปวดตามข้อจึงมักเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังหลายชนิด 

อาการปวดตามข้อ ถือเป็นอาการที่สามารถพบได้ทั่วไป ทำให้หลายคนมักจะละเลยและมองข้าม เพราะคิดว่าเป็นอาการปวดเมื่อยตามปกติ คิดว่าไม่ร้ายแรงมาก และปล่อยทิ้งไว้ให้หายไปเอง แต่รู้ไหมว่าอาการปวดตามข้อต่าง ๆ ในร่างกายอาจไม่ใช่อาการทั่วไปแบบที่คิด เช่น อาการปวดนิ้วมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อเท้า หรือข้อสะโพก การทานยาเพื่อบรรเทาอาการ เป็นแค่เพียงวิธีชั่วคราวที่อาจทำให้อาการกำเริบภายหลังได้  

อาการปวดตามข้อที่พบบ่อย 

โรครูมาตอยด์ อาการเริ่มต้น คือ เกิดการอักเสบของเยื่อบุภายในข้อ บวม แดง ปวดตามข้อนิ้ว เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง ปวดตึง  และมักจะเป็นพร้อมกันหลายข้อ เป็นโรคที่มีภาวะอักเสบของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจมาพร้อมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิด 

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคที่มีการอักเสบของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ใช่เพียงที่ข้อ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติและไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตัวเอง ในผู้ป่วยบางรายพบว่ามีภาวะที่มีผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ผิวหนัง ดวงตา ปอด หัวใจ และหลอดเลือด เกิดปุ่มรูมาตอยด์บริเวณที่มีการเสียดสีบ่อย ๆ อย่างข้อศอก ข้อนิ้ว 

ปวดข้อจากการออกกำลังกาย

เช่น การออกกำลังกายในท่าที่เสี่ยงต่อการเสียดสีบริเวณผิวข้อ ข้อเข่า ทำให้เกิดการเจ็บเข่าด้านใน เข่าถูกใช้งานหนักเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บ 

ปวดข้อร่วมกับไข้หวัด

ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ส่วนใหญ่มักมีอาการปวดข้อร่วมด้วย ซึ่งอาการนี้ถือเป็นอารการปวดไม่ร้ายแรง และจะค่อย ๆ ดีขึ้น 

โรคเก๊าต์ โรคข้ออักเสบ

ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายที่มีกรดยูริกสูง จนเกิดอาการเจ็บบริเวณผิวข้อ ปวด อักเสบ บวมแดง ร้อนบริเวณข้ออย่างฉับพลัน มักจะเริ่มจากบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า อาการอักเสบจะรุนแรงถี่ขึ้นและเรื้อรัง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งมากกว่าคนปกติ

โรคข้อเสื่อมตามอายุ

มักจะเกิดในกลุ่มของผู้สูงอายุ เพราะมวลกระดูกที่เริ่มเสื่อมสภาพ ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ทำให้กระดูกเริ่มอ่อนแอ ขยับหรือเคลื่อนไหวแล้วรู้สึกเจ็บเข่าด้านใน ปวดตามข้อต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณเข่า เพราะเป็นจุดที่เกิดการรับน้ำหนักมากที่สุด จะสังเกตุเห็นว่าคนสูงอายุเกือบร้อยละ 90 % มักจะมีปัญหาเรื่องกระดูกเสื่อมมากกว่าคนวัยอื่น

สำหรับวิธีการดูแลตัวเองได้ดีที่สุด เพื่อให้ห่างไกลจากอาการปวดข้อ และโรคปวดตามข้อต่าง ๆ ควรเริ่มต้นจากการดูแลตัวเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต งดเว้นอาหารที่จะส่งผลต่อการเกิดทำลายแคลเซียมในร่างกาย และหมั่นทานสารสกัดที่มาจากธรรมชาติเพื่อช่วยเติมเต็มแคลเซียมที่สูญเสียไป เช่น เซซามินจากงาดำ เพื่อช่วยกระตุ้นการเสริมสร้างมวลกระดูกให้กับร่างกาย

คำถามที่พบบ่อย