ไขข้อสงสัย อาการปวดเข่าเกิดจากอะไร ขาดแคลเซียมแล้วเสี่ยงโรคเข่าเสื่อมจริงหรือไม่?
สารบัญเนื้อหา
อาการปวดเข่า เพราะขาดแคลเซียม
อาการปวดเข่า เกิดได้จากหลายสาเหตุ หากเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาการของโรคเข่าเสื่อมและการขาดแคลเซียมที่เพียงพอต่อร่างกาย จนนำไปสู่การสูญเสียแคลเซียม จนกระดูกเริ่มเสื่อมสภาพ เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้กระดูกอ่อนที่หุ้มปลายกระดูกสึกหรอ กระดูกเคลื่อนเข้าหากันได้ยาก นำไปสู่การอักเสบและความเจ็บปวดในข้อต่อ
การสูญเสีย แคลเซียม เป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดเข่าในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ทำให้เสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่ทำให้กระดูกเปราะ แตกหักได้ง่าย ทำให้อันตรายต่อผู้สูงอายุนั่นเอง
อาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ มักมีแนวโน้มที่จะมีอาการปวดเข่ามากขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มขาดแคลเซียมที่เพียงพอ จนทำให้การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันลำบากมากขึ้น ทั้งการนั่ง การลุก การยืน การเดิน ไม่ว่าจะขยับร่างกายส่วนไหนก็รู้สึกปวดตึง เจ็บในข้อ ทำให้แคลเซียมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพของกระดูกของผู้สูงอายุอย่างมาก เพราะเมื่อสูญสลายไป อาจทำให้เกิดอาการปวดและรู้สึกไม่สบายในข้อต่อ เช่น หัวเข่า ข้อเท้า จนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
สาเหตุที่สูงอายุมีแนวโน้มที่จะขาดแคลเซียมมากกว่ากลุ่มอื่น
- ผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจากอาหาร
- ความสามารถในการดูดซับแคลเซียมลดลง
- ความสามารถในการผลิตวิตามินดีลดลง ซึ่งจำเป็นสำหรับการดูดซึมแคลเซียม
- ผู้สูงอายุจะสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกและมวลกระดูกเมื่อเวลาผ่านไป อาจนำไปสู่โรคกระดูกพรุนและอาการปวดข้อ
นอกจากนี้ อาการปวดเข่า ยังเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคกระดูกพรุน ที่ควรได้รับความใส่ใจอย่างจริงจัง เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงอื่น ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
กินแคลเซียมดีต่อผู้สูงอายุ
แคลเซียม เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มวลกระดูกเริ่มเสื่อมสภาพ แคลเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับสุขภาพฟันและกระดูก และเสริมสร้างกล้ามเนื้อและหลอดเลือดภายในร่างกาย ซึ่งปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวันควรอยู่ที่ 800 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี และ 1,000 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป
แหล่งแคลเซียม ที่แนะนำได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นมหรือโยเกิร์ต แหล่งอาหารที่ดีอื่นๆ เช่น ผักสีเขียวเข้ม เช่น บร็อคโคลี่หรือผักโขม เต้าหู้ ถั่วเหลือง งาดำ ปลาทะเล ผักคะน้า ดอกแค ยอดผักกระเฉด เป็นต้น